(Coming soon)
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554
ออกแบบและสร้างระบบควบคุมมอเตอร์กระแสตรงแบบไร้แปลงถ่าน
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านต่างๆมีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก
รวมถึงเทคโนโลยีของมอเตอร์และระบบควบคุมของมอเตอร์
ซึ่งที่ได้กล่าวถึงในโครงการวิจัยนี้คือ มอเตอร์แบบไร้แปลงถ่าน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Brushless DC Motor มอเตอร์ดังกล่าวนี้
มีการพัฒนามาจากมอเตอร์กระแสตรง (DC Motor) โดยทำการออกแบบโครงสร้างใหม่คือ
โรเตอร์ (Rotor) ของมอเตอร์เดิมจะมีขดลวดพันอยู่เปลี่ยนเป็นแม่เหล็กถาวร
และส่วนของสเตเตอร์ (Stator) เดิมเป็นแม่เหล็กถาวรเป็นขดลวด
การจ่ายไฟให้กับมอเตอร์เดิมนั้นเป็นการจ่ายผ่านแปรงถ่านและซี่คอมมิวเตเตอร์
เปลี่ยนเป็นจ่ายเข้าขดลวดในสเตเตอร์โดยตรง และเปลี่ยนจากการจ่ายพลังงานแบบ 1
เฟสเป็น 3 เฟส จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดข้อดีหลายประการ เช่น
พลังงานเอาต์พุตของมอเตอร์ที่ได้มากขึ้น ลดการสัมผัส ไม่เกิดการอาร์คในขณะเริ่มทำงาน
แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของมอเตอร์
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือระบบการขับเคลื่อนของมอเตอร์ (Drive) ดังนั้นเทคโนโลยีของระบบควบคุมของมอเตอร์ก็มีการพัฒนาขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งระบบจะมีความซับซ้อนมากขึ้น และยากต่อการเข้าใจ มีการนำเทคโนโลยีระบบไมโครคอนโทรลเลอร์มาใช้ในการควบคุม
ปัจจุบันมีการนำมอเตอร์ไร้แปรงมาใช้งานอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรม
ระบบการขับเคลื่อนของรถยนต์แบบผสมผสาน (Hybrid Car) รวมถึงระบบคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ
เป็นต้น งานวิจัยที่ผ่านมาที่กล่าวถึงการใช้งานมอเตอร์กระแสตรงแบบไร้แปลง เช่น Ting-Yu
[1] งานวิจัยนี้กล่าวถึงการนำ BLDC ไปประยุกต์ใช้ในระบบการขับเคลื่อนของรถไฟฟ้า
โดยนำเสนอว่าเนื่องจากปัจจุบันเนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
ความหนาแน่นของประชากรสูง รวมทั้งสภาพอากาศที่ร้อน
สกูตเตอร์และรถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่นิยมมากที่สุดในประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ยานพาหนะทั้งสองนั้นมีส่วนที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
เนื่องจากพลังงานในการขับเคลื่อนมาจากพลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล
ดังนั้นการพัฒนาระบบการขับเคลื่อนของยานพาหนะโดยใช้พลังงานจากไฟฟ้านั้นจะสามารถช่วยลดมลภาวะดังกล่าวได้
และนำ BLDC มาประยุกต์ใช้งาน
ซึ่งทำการออกแบบและสร้างระบบควบคุมการทำงานที่เหมาะสม ผลที่ได้คือ
ได้ระบบควบคุมของ BLDC ที่สามารถนำมาเป็นต้นแบบในการสร้างเพื่อใช้งานจริงได้
Kang Geon [2] ทำการประยุกต์ใช้ BLDC ในระบบคอมเพรสเซอร์
Shanmugasundram [3] ทำการศึกษาและสร้างระบบควบคุมของ BLDC
ที่มีราคาต่ำโดยนำไมโครคอนโทรลเลอร์ Aduc812
มาเป็นตัวสมองกลในการควบคุม เป็นต้น
ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับมอเตอร์ไร้แปลงถ่านและระบบการควบคุม
จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ต่อนักศึกษาที่เรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับระบบการขับเคลื่อนมอเตอร์
เครื่องกลไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันนั้นการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้า
และระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าในสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นั้น
ยังไม่มีชุดฝึกปฏิบัติที่ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับมอเตอร์ไร้แปรงถ่านดังกล่าว
เนื่องมาจากเทคโนโลยีของมอเตอร์ดังกล่าวนั้นเพิ่งมีขึ้นในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมา
แต่สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้านั้น เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปี 2538
การจัดซื้อเกี่ยวกับครุภัณฑ์ทางการศึกษาจึงไม่มีในส่วนดังกล่าว
จากเหตุผลที่กล่าวในข้างต้นชุดฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับมอเตอร์ไร้แปรงถ่าน
และระบบควบคุมนั้นมีความสำคัญต่อการศึกษาของนักศึกษา
ดังนั้นจึงควรมีชุดฝึกปฏิบัติดังกล่าว
โครงการวิจัยนี้จะนำเสนอการสร้างต้นแบบชุดฝึกปฏิบัติการการควบคุมมอเตอร์ไร้แปรงถ่าน
โดยการสร้างจากวัสดุและอุปกรณ์ที่หาได้ภายในประเทศ เพื่อให้ได้ชุดฝึกที่มีราคาต่ำ
และสามารถซ่อมบำรุงได้อย่างไม่ยุ่งยาก
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก และที่สำคัญต้นแบบของ
ชุดฝึกปฏิบัติการที่สร้างขึ้นนั้นใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในเรื่องของลิขสิทธิ์ใดๆ
เอกสารอ้างอิง
[1] Ting-Yu,
C., P. Ching-Tsai, et al. (2009). A low voltage high current EV
drive using inverter low side switches as current sensors. Power Electronics
and Drive Systems, 2009. PEDS 2009. International
Conference on.
[2] Kang Geon, I., S. Han
Man, et al. (2009).
The study on BLDC motor compressor using SMC. Power Electronics and Motion
Control Conference, 2009. IPEMC '09. IEEE 6th International.
[3] Shanmugasundram, R., K. M. Zakariah, et al. (2009).
Digital implementation of fuzzy logic controller for wide range speed control
of brushless DC motor. Vehicular Electronics and Safety (ICVES), 2009 IEEE
International Conference on.
[4] Brown W.: Brushless DC Motor Control Made Easy. AN857,
Microchip Technology Inc., 2002.
[5] Alecsa, B. and A. Onea Design, validation
and FPGA implementation of a brushless DC motor speed controller. Electronics,
Circuits, and Systems (ICECS), 2010 17th IEEE International Conference on.
[6] D Yousfi, S Belkouch , AA Ouahman… - Journal of Power …, 2010 -
jpe.or.kr
[7] Darko Cvetkovski,
Vladica Sark, Josif Kosev. A LOW-COST DSP DEVELOPMENT SYSTEM FEATURING
FREESCALE'S MC56F8322. INFOTEH-JAHORINA Vol. 10, Ref. E-II-9, p. 567-570, March 2011.
[8] Kiing-Ing, W. and K. A.
Silek (2009). Integration of brushless DC motor drive into undergraduate
electric machinery courses. E-Learning in Industrial Electronics, 2009. ICELIE
'09. 3rd IEEE International Conference on.
ออกแบบและสร้างระบบควบคุมมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้นแบบด้านเดียวด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสมองกลฝังตัว
การดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ทำการออกแบบและสร้างต้นแบบของมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้นแบบด้านเดียว
หรือ Single-side Linear Induction Motor: SLIM โครงสร้างของมอเตอร์นั้นใช้การออกแบบตามหลักทฤษฎีที่ไม่ซับซ้อน และการสร้างอยู่บนพื้นฐานของความประหยัด ใช้วัสดุที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด ดังนั้นจึงไม่ขอกล่าวรายละเอียดในส่วนนี้
แต่จะมุ่งเน้นเรื่องของระบบควบคุมที่สร้างขึ้นโดยการนำระบบสมองกลมาประยุกต์ใช้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมส่ง Email มาที่ songklod.sriprang@gmail.com
แต่จะมุ่งเน้นเรื่องของระบบควบคุมที่สร้างขึ้นโดยการนำระบบสมองกลมาประยุกต์ใช้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมส่ง Email มาที่ songklod.sriprang@gmail.com
โครงงานการออกแบบและสร้างระบบควบคุมรถโกคาร์ทไฟฟ้าโดยการประยุกต์ระบบสมองกล
วิดีโอประกอบ 2
การดำเนินการจัดทำโครงการนี้อยู่ภายใต้แนวคิดที่จะสร้างระบบการขับเคลื่อนของรถโกคาร์ทไฟฟ้า
เพื่อใช้สำหรับเป็นต้นแบบในการนำไปพัฒนาต่อไป ซึ่งผลการทดลองที่ได้เป็นที่น่าพอใจ สามารถใช้ในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าโกคาร์ทต้นแบบ
และสามารถเร่งความเร็วได้ประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมส่ง Email มาที่ songklod.sriprang@gmail.com
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
ความเคลื่อนไหวของ "ระบบสมองกลฝังตัว" ตอนที่ 1
สมามคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
(TRIDI) ร่วมกันจัดสัมมนา เรื่อง "การพัฒนาบุคลากรทางด้านระบบสมองกลฝังตัวสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์" เพื่อระดมความคิดเห็นทางด้านการพัฒนาบุคลากรระบบสมองกลฝังตัวของประเทศไทยให้มีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น
ตลอดจนการพัฒนาทางด้านคุณภาพและปริมาณควบคู่กันไปด้วย
พร้อมทั้งได้ลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรทางด้านระบบสมองกลฝังตัวระหว่าง
NECTEC กับ TESA ด้วย นอกจากนี้ยังได้บรรยายพิเศษในหัวข้อต่างๆ
ดังนี้
1.
" Internet of Things : อนาคตของการสื่อสารและโทรคมนาคม"
โดย
ผศ.อภิเนตร อูนากูล นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย
2.
"นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ
กับโอกาสการสร้างบุคลากร"
โดย
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
3.
"แนวคิดในการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อรองรับบรอดแบนด์แห่งชาติ"
โดย
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
4.
"กรณีตัวอย่างการพัฒนาบุคลากรทางด้าน RFID"
โดยคุณอภิวัฒน์
ทองประเสริฐ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความเป็นเลิศ ทางเทคโนโลยี RFID
นอกจากนี้
ยังได้มีการระดมสมองในประเด็นเกี่ยวกับกิจกรรมในการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
โดยมีตัวแทนผู้ประกอบการจาก บมจ. ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น บจก.โฟนนิค บจก. เอ็กเช้น
อินโฟเมชั่น เซอร์วิส บจก.สมาร์ทเทรค และเอ็มเบ็ดเจ โดยงานได้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมพระจอมเกล้า ชั้น
4 สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554
dsPIC30F ภาค 1
ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC ของบริษัท Microchip Technology เป็นทางเลือกหนึ่งของนักพัฒนาไมโครคอนโทรลเลอร์ในประเทศไทยตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 และมีการนำเบอร์ใหม่ๆมาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอนุกรม PIC16F8x, PIC16F87x จนมาถึง PIC18Fxxx ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้น ตัวซีพียูภายในไมโครคอนโทรลเลอร์ยังอยู่ที่ขนาด 8 บิต
ทว่าในปี ค.ศ. 2004 นี้ Microchip Technology ได้พัฒนาไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นใหม่ที่ประมวลผลในระดับ 16 บิต ออกมาใช้งาน ภายใต้ชื่อเรียกขานอย่างเป็นทางการว่า dsPIC เป็นการรวมกันระหว่าง Digital Signal Processing (DSP) และ Peripheral Interface Controller (PIC) จุดเด่นของ dsPIC คือ การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล โดยมีการเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยประมวลผลกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากเป็นหัวใจของการประมวลผลสัญญาณดิจิตอล และสามารถประมวลผลข้อมูลขนาด 16 บิต อย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังเพิ่มความเร็วในการประมวลผล เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณดิจิตอล นั่นคือเพิ่มความสามารถของโมดูลแปลงสัญญาณดิจิตอล (ADC) ให้สามารถสุ่มสัญญาณได้เร็วขึ้น แลมีความละเอียดขนาด 10 บิต และ 12 บิต
ด้านเครื่องมือในการพัฒนาทางซอฟต์แวร์ สามารถพัฒนาด้วยโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี และภาษา C ผ่านทางชุดซอฟต์แวร์ที่ชื่อ MPLAB IDE ร่วมกับ C คอมไพเลอร์ MPLAB C30 และในส่วนเครื่องมือทางฮาร์ดแวร์มีการพัฒนาขึ้นเหมือนกันนั่นคือ ICD2, ICD3 หรือ In-circuit Debugger /Programmer ทำให้การพัฒนาโปรแกรมของไมโครคอนโทรลเลอร์ dsPIC สามารถกระทำได้อย่างสะดวก และง่ายขึ้น
1. คุณสมบัติเด่นโดยรวมของ dsPIC
1.1. คุณสมบัติของ
- เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีซีพียูแบบ RISC
- ความเร็วในการทำงานสูงถึง 30 ล้านคำสั่งต่อวินาที
- มี 84 คำสั่งมาตรฐานภาษาแอสเซมบลี รองรับรูปแบบการอ้างแอดเดรสได้อย่างอิสระ
- ชุดคำสั่งมีขนาด 24 บิต สามารถประมวลผลข้อมูลได้ 16 บิต
- มีหน่วยความจำโปรแกรมเป็นแบบแฟลช สามารถลบและเขียนใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 100,000 ครั้ง สามารถป้องกันการอ่านได้ และสามารถโปรแกรมตัวเองโดยผ่านกระบวนการทางซอฟต์แวร์
- มีหน่วยความจำอีอีพรอมที่สามารถลบ และเขียนใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 1,000,000 ครั้ง
- มีอินเตอร์รัปต์เวกเตอร์จำนวนมาก รองรับการตอบสนองการอินเตอร์รัปต์ได้ดี
- มีวงจรตรวจจับแรงดันไฟเลี้ยงต่ำกว่ากำหนดแบบโปรแกรมได้
- มีเพาเวอร์-ออนรีเซต, เพาเวอร์อัปไทเมอร์ และออสซิลเลเตอร์สตาร์ท-อัปไทเมอร์
- มีวอตช์ดอกไทเมอร์แบบโปรแกรมได้
- มีวงจรตรวจสอบการทำงานของวงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา
- รองรับการโปรแกรมในแบบวงจรอนุกรม (ICSP: In-Circuit Serial Programming)
- สามารถเลือกโหมดการใช้พลังงานได้
1.2. คุณสมบัติด้านการประมวลผล
- มีแอกคิวมูเลเลเตอร์ขนาด 40 บิต 2 ตัว รองรับการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ได้อย่างดี
- มีหน่วยประมวลผลด้านการคูณและการหารเลข 17 บิต ในรูปของฮาร์ตแวร์ จึงทำให้สามารถคูณและหารเลขได้อย่างรวดเร็ว
- ทำการคูณเลข 16 บิต ได้ภายในสัญญาณนาฬิกาภายใน 1 ไซเกิล
- มีตัวเลื่อนข้อมูลบาร์เรล 40 สเตจ ช่วยให้การประมวลผลข้อมูลที่มีจำนวนบิตมากๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- มีวงจรเฟตข้อมูลคู่ ช่วยให้การประมวลผลข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว
1.3. คุณสมบัติของโมดูลฟังก์ชันพิเศษ
- สามารถจ่ายกระแสออกทางพอร์ตได้ 20mA ทั้งในแบบซิงก์และซอร์ส
- ไทเมอร์และเคาน์เตอร์ขนาด 16 บิต ไม่น้อยกว่า 3 ตัว และสามารถต่อใช้งานร่วมกันเป็น ไทเมอร์ขนาด 32 บิตได้
- มีโมดูลตรวจจับและเปรียบเทียบสัญญาณดิจิตอล
- มีส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์อนุกรมทั้งแบบ SPI และผ่านระบบบัส I2C
- มีโมดูลสื่อสารอนุกรม UART พร้อมบัฟเฟอร์แบบ FIFO
- มีโมดูลการแปลงสัญญาณอะนาล็อกเป็นดิจิตอลที่มีความละเอียด 10 บิตและ 12 บิต (ADC) *
- มีโมดูลสร้างสัญญาณ PWM สำหรับควบคุมมอเตอร์ (MCPWM)*
- มีโมดูลเชื่อมต่อตัวเข้ารหัสแบบควอดราเจอร์เอนโคดเดอร์ (QEI)*
*เป็นคุณสมบัติที่มีเฉพาะบางเบอร์คุณสมบัติภายในของ dsPIC30F แสดงดังรูป
ขอจบเรื่องราวในภาคที่ 1 ไว้แค่นี้ก่อนครับ ในภาคต่อไปจะนำตัวอย่างการใช้งานมากล่าวให้ฟังครับ
การออกแบบและสร้างระบบสมองกลในงานควบคุมการปิด-เปิดหลอดไฟฟ้า
ในปัจจุบันปัญหาเรื่องพลังงานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติ ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องมีการดำเนินการในเรื่องการประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะหน่วยงานราชการที่เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวนั้นมีเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญเป็นแหล่งรวมขององค์ความรู้ต่างๆ ดังนั้นการจัดการพลังงานจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานเหล่านี้ จะต้องแสวงหาหนทางและวิธีการในการจัดการ เพื่อที่จะเป็นแนวทางและต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้นำไปใช้ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงวิธีการจัดการพลังงานนั้นสามารถกระทำได้หลายวิธี และในปัจจุบันนั้นมีงานวิจัยหลายๆเรื่อง ที่นำเสนอเกี่ยวกับการจัดการพลังงานภายในหน่วยงาน เนื่องจากในหน่วยงานราชการนั้นจะมีช่วงเวลาในการปฏิบัติงานที่แน่นอนคือ เริ่มทำงาน 8.00 น. และเลิกงานเวลา 16.30 น. และในช่วงเวลากลางวันจะมีช่วงเวลาพักรับประทานอาหารเวลา 12.00 – 13.00 น. ดังนั้นการจัดการพลังงานจึงสามารถกระทำได้ง่าย ซึ่งหน่วยงานโดยทั่วไปแล้วก็จะมีลักษะที่คล้ายๆกับหน่วยงานราชการ งานวิจัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่ จึงนำตรงส่วนนี้เป็นหลักเกณฑ์ในการจัดการพลังงานภายในหน่วยงาน แต่วิธีการที่จะจัดการพลังงานนั้นยังมีวิธีการอื่นอีก เช่นในโครงการนี้นำเสนอ การจัดการพลังงานโดยการควบคุมการเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบเรียงลำดับ เป้าหมายคือต้องลดการใช้พลังงานในขณะที่เปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า เนื่องจากตามทฤษฎีแล้ว อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นประกอบด้วยโหลดที่เป็น ความต้าน (Resistor) ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) และตัวเก็ปประจุ (Capacitor) ดังนั้นเมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานพร้อมกัน การใช้พลังงานนั้นจะมีปริมาณมาก ซึ่งสามารถอธิบายด้วยสมการดังต่อไปนี้
V = I x Z (1)
เมื่อ
V คือแรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ (Volt)
I คือกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere)
Z คือค่าอิมพีแดนซ์ มีหน่วยเป็น โฮห์ม (Ohm)
จากสมการที่ 1 โดยปกติ แรงดันไฟฟ้าจะมีค่าคงที่ ซึ่งในประเทศไทยนั้นจะมีขนาดของแรงดันไฟฟ้าดังนี้ ระบบ 1 เฟส จะมีนาดแรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ระบบ 3 เฟส มีขนาดแรงดัน 380 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ และกระแสนั้นจะเกิดขึ้นตามปริมาณของโหลด ดังนั้นปริมาณกระแสจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของโหลด ตามสมการ
I = V/Z (2)
เมื่อปริมาณโหลดมีมากพลังงานที่จ่ายให้ก็จะมีปริมาณมากเช่นเดียวกัน ตามสมการ
P = V.I cos(Theta) (3)
เมื่อ
cos(Theta) คือค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ โดย Theta คือมุมระหว่างแรงดันและกระแส
และในขณะที่เริ่มทำงานนั้นผลรวมของกระแสจะมีมากเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มจ่ายพลังงาน ดังนั้นการควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์ จะช่วยให้สามารถลดการใช้พลังงานได้ โดยในโครงงานนี้ได้จำลองระบบ เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่กล่าวในข้างต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือส่ง Email มาที่ songklod.sriprang@gmail.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)